Thursday 24 March 2011

Econ Digest

Econ Digest
ย่อยเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่น่าสนใจ และความรู้ข่าวสารข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์จากแหล่งต่างๆ
โดย อ.ชล บุนนาค ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

Monday 21 March 2011

The top visual and design blogs @ Artessen

The top visual and design blogs @ Artessen

เสื้อยืด + ย้อมคราม

http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?p=8857

Walkonthewildside – แบรนด์เสื้อยืดกับการคืนชีวิตให้ภูมิปัญญาไทย
March 16th, 2011

เรื่อง : อาศิรา พนาราม
wwsIndigo3
ใครๆ ก็บอกว่า หากคิดจะทำธุรกิจ…ต้องค้นหาให้ได้ว่าอะไรคือจุดแข็งที่มีอยู่แล้วของตัวเอง นราวุธ ไชยชมภู และ ศศิมา อัศเวศน์ คืออีกหนึ่งคู่ชีวิตที่คิดจะมีธุรกิจร่วมกัน นราวุธทำงานด้านสื่อสารมวลชน ส่วนศศิมาจบสัตวแพทย์ ทั้งสองกำลังมองหาว่าอะไรคือ จุดแข็งของพวกเขา
โชคดีที่ว่าบ้านของนราวุธที่จังหวัด สกลนครมีกิจการย้อมครามที่ฟื้นฟูขึ้นมาเอง และพัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์จนได้รับการยอมรับถึงในตลาดต่างประเทศ ทั้งสองตัดสินใจนำภูมิปัญญาทรงคุณค่านี้มาเป็นจุดแข็งต่อยอดธุรกิจในแบบของ ตัวเอง
wwsIndigo1
แม่ฑีตา รื้อฟื้นภูมิปัญญาเก่าแก่สู่ผลิตภัณฑ์โอทอประดับท็อป
กิจการย้อมครามของบ้านนราวุธเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เมื่อคุณน้า ประไพพันธุ์ แดงใจ ผู้เคยผ่านงานในองค์กรพัฒนาเอกชนและทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมหลายด้าน ได้กลับมาบ้านเกิดที่จังหวัดสกลนคร เพื่อสุขภาพของลูกสาวซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ คุณน้าได้สังเกตเห็นชุดที่คุณยายฑีตา จันทร์เพ็งเพ็ญ (คุณแม่ของคุณน้า) และผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านใส่กันว่าสวยดี จึงไถ่ถามว่าทำจากอะไร เมื่อได้คำตอบว่าเป็นผ้าย้อมคราม คุณน้าก็สนใจมาก เพราะ ณ ตอนนั้น ความรู้เรื่องการย้อมครามได้เลือนหายตายจาก (ตามคนรุ่นเก่า) ไปเกือบหมดแล้ว คนที่ยังทำได้ก็อายุมากเหลือเกิน หม้อคราม อุปกรณ์เก่าๆ ก็ถูกทิ้งร้างไว้หลังบ้าน กระทั่งต้นครามยังแทบหาไม่ได้ในหมู่บ้าน

คุณน้า คุณแม่ และคุณยายของนราวุธ มุ่งมั่นรื้อฟื้นศิลปะการย้อมครามขึ้นมาใหม่ ซึ่งแม้คุณยายจะเคยเห็นคุณทวดทำ แต่ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเป็นส่วนตัว จึงต้องสืบเสาะหาคนที่ยังทำอยู่และไปขอความรู้จากเขา หลังจากนั้นก็มาทดลองทำกันเองเพื่อหาสูตรและวิธีการที่ลงตัวมากที่สุด ซึ่งใช้เวลาอยู่นานหลายปี จนถึงทุกวันนี้บางขั้นตอนก็ยังต้องทดลองและพัฒนากันอยู่ ด้วยว่า “คราม” นั้นขึ้นชื่อว่าเป็นพืชที่มีกระบวนการย้อมยากที่สุดในโลก
ต้นครามที่ได้มาต้นแรกนั้นต้องอาศัยคน ไปหามาจากป่า แล้วค่อยนำมาเพาะพันธุ์ปลูกเอง ทั้งสามเริ่มต้นใหม่หมดตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยวใบ การมัด แล้วจึงนำไปหมักให้ได้เนื้อครามอยู่ในหม้อ นำผ้าฝ้ายมาย้อม ฯลฯ แรกย้อมนั้นผ้าจะยังเป็นสีเขียวอยู่ แต่เมื่อครามได้สัมผัสกับออกซิเจนก็จะกลายเป็นสีฟ้ามากขึ้น ซึ่งกระบวนการทั้งหมดล้วนเป็นกระบวนการธรรมชาติทั้งสิ้น
แต่ละขั้นตอนนั้นมีเทคนิคเคล็ดลับมาก มาย ตัวอย่างเช่น เมื่อได้เนื้อครามมาอยู่ในหม้อแล้ว ก็ต้องคอยเติมมะขามเปียกหรือปูนเพื่อดูแลสภาวะความเป็นกรด – ด่างให้ลงตัวจึงจะใช้ย้อมได้ (บางหม้อใช้ย้อมไปได้เรื่อยๆ หลายปี) แต่ถ้าคนทำไม่คอยดูแลเรื่องความเป็นกรด – ด่างให้สมดุลแล้ว หม้อครามนั้นก็จะเสียไปเลย กระบวนการนี้จึงต้องอาศัยประสบการณ์เป็นอย่างมาก
ในที่สุดสินค้าผ้าฝ้ายย้อมคราม “แม่ฑีตา” (ซึ่งได้ชื่อของคุณยายมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์) ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นม่ฑีตา”้อมคราม “ายฝนฐานะผู้ริเมับมากมายเต็มไปหมด เช่น ้าน ในระหว่างที่คุณน้าและคุณยายได้ทดลองทำ ครามก็ค่อยๆ ฟื้นกลับคืนชีวิต คนในจังหวัดสกลนครเริ่มทำผ้าย้อมครามกันมากขึ้น จนกระทั่งในที่สุดทางราชการก็สนับสนุนให้ “ผ้าย้อมคราม” เป็น “ของดีเมืองสกลนคร” และคุณยายของนราวุธก็ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์สาขาเคมี (ทั้งนี้เนื่องจากมีอาจารย์มหาวิทยาลัยมาลงพื้นที่ทำวิจัย และได้นำภูมิปัญญาและประสบการณ์ของ “แม่ฑีตา” มาทดลองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถวัดผลได้จริงจึงมอบปริญญาให้)
ปัจจุบันแม่ฑีตา มีผ้าย้อมสีธรรมชาติหลักอยู่ 2 สี คือ คราม กับ มะเกลือ ซึ่งพืชส่วนใหญ่ในโลกจะต้องผ่านกระบวนการย้อมร้อน (ต้ม) มีพืชไม่กี่ชนิดที่สามารถย้อมเย็นได้ ซึ่งครามกับมะเกลือก็เป็นหนึ่งในนั้น “แม่ฑีตา” เลือกใช้การย้อมเย็นเพราะจะมีความทนทานมากกว่า แถมยังไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ดีต่อสิ่งแวดล้อมทุกกระบวนการ 
wwsIndigo2
Walkonthewildside เมื่อครามหยาดลงบนเสื้อยืด
การเก็บเกี่ยวใบครามจะทำได้เฉพาะเวลาเช้ามืดก่อนแสงอาทิตย์มาเยือน โดยศศิมาบอกว่า การจะรู้ว่าใบไหนที่พร้อมเก็บ คือให้ดูว่าใบนั้นมีหยดสีครามออกมาแล้วหรือยัง (สิ่งนี้เรียกว่า ครามหยาด) ซึ่งหากผ่านช่วงเวลานี้ไปแล้ว ถ้าใบไม่ถูกเก็บก็จะร่วงหล่นไปเอง ถึงตรงนี้เราอดนึกเปรียบเทียบไม่ได้ว่า ความพร้อมที่จะกลับมาต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ในบ้านเกิดของนราวุธและศศิมานั้น ก็เหมือนกับจังหวะของ “ครามหยาด” นี่แหละกระมัง

นราวุธเล่าว่าเขาเห็นผ้าย้อมครามมา ตั้งแต่เด็กแต่ไม่เคยได้ลงมือทำ เขามองเห็นความงดงามแต่ไม่รู้ว่าจะนำมาสวมใส่อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง
“เราเห็นผ้าของน้าสวยมาก แต่เมื่อแปรรูปออกมาแล้ว เรากลับไม่รู้ว่าจะหยิบอันไหนมาใส่ได้ นี่คือจุดที่ทำให้เราคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้ครามที่เราเห็นว่าสวย ว่าเจ๋ง ว่าทำยาก และเป็นภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่านี้ ได้มาเจอกับความเป็นคนรุ่นใหม่ของเรา ก็นึกถึงเสื้อยืดเพราะเราใส่ทุกวัน และเสื้อยืดมีความเป็น Unisex เป็นสิ่งที่ทำแล้วเราแชร์ร่วมกันได้”
ตอนนี้ทั้งนราวุธและศศิมากำลังเรียนรู้ การย้อมครามทั้งกระบวนการอยู่ โดยฝึกตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก เก็บเกี่ยว ทำเนื้อครามเป็น ก่อหม้อคราม และการย้อม ทั้งสองบอกว่า “การย้อม” ดูจะเป็นขั้นตอนที่พวกเขาถนัดที่สุด และรู้สึกสนุกกับการได้ทดลองอะไรใหม่ๆ ระหว่างเสื้อยืด คราม และสีย้อมธรรมชาติต่างๆ ศศิมาบอกว่า ในอนาคตหากมีความชำนาญขึ้น คงได้ทดลองย้อมสีธรรมชาติอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น เปลือกมังคุด โคลน ต้นกล้วย ฯลฯ และจะค่อยๆ แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อไป
“การย้อมเป็นเรื่องสนุก เพราะเราคาดเดาไม่ได้ แม้จะใช้เทคนิคเดียวกันก็อาจได้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ครามและพืชธรรมชาติมีมิติสีที่ไม่สม่ำเสมอ ต่างจากสีเคมี และมักจะเกิดเรื่องที่ไม่คาดฝันอยู่เรื่อยๆ เช่น เวลาทำเสื้อยืดย้อมมะเกลือ ที่น้ำย้อมจะมีเปลือกมะเกลือเป็นเกล็ดๆ ติดอยู่ ปกติเวลาทำเขาจะห่อผ้าขาวบาง เพื่อกันเกล็ดมะเกลือเหล่านี้ (เพื่อให้สีเรียบนวล) แต่วันนั้นเรารีบๆ ก็ย้อมเลย ไม่ได้ห่อผ้า จึงมีเกล็ดติดมาด้วย พอนำไปตากแดด ซักออกมาตรงเกล็ดก็หลุดไป กลายเป็นลายจุดๆ สวยมาก หรือบางครั้งเราเอาเสื้อที่ย้อมแล้วไปตาก แล้วฝนตกมาโดนก็กลายเป็นลายเม็ดฝนไปก็มี บางทีก็ได้ลวดลายออกมาเหมือนภาพแนว Abstract มันคาดเดาไม่ได้จริงๆ”
“ในการย้อมสีธรรมชาตินั้น ธรรมชาติจะช่วยเราทำงานด้วย ฉะนั้นเวลาทำจึงไม่ควรไปเคร่งครัดมาก ปล่อยสบายๆ ให้มันเกิดขึ้นเอง เพราะนี่คือการทดลอง เราคิดว่ามันมีเสน่ห์ตรงนี้แหละ ตรงที่แต่ละตัวออกมาไม่เหมือนกันเลย
ฟื้นชีวิต “ภูมิปัญญา” ด้วยการเชื่อมต่อเข้าหา “ปัจจุบัน”
การต่อยอดของนราวุธและศศิมาไม่ใช่แค่การย้ายครามมาย้อมในสื่อใหม่ อย่างเสื้อยืด แต่พวกเขามีความคิดที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น จะเรียกว่า “การอนุรักษ์” ก็อาจจะไม่เต็มปาก พวกเขาอยากเรียกมันว่า “การสืบต่อชีวิต” มากกว่า

ภูมิปัญญาที่ สั่งสมมายาวนานด้วยความยากลำบาก หากจะปล่อยให้ตายไปก็น่าเสียดาย คำว่าตายของผมนั้นหมายถึงว่า แม้ภูมิปัญญานี้จะยังคงอยู่ แต่หากมันเป็นแค่การอนุรักษ์ไว้เฉยๆ อย่างเดิม มันก็จะเป็นแค่เรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้มีการนำมาใช้ในชีวิตจริงกับคนรุ่นปัจจุบัน ซึ่งสำหรับผมแล้ว นัยหนึ่งมันก็คล้ายๆ กับตายนั่นแหละ”
“ดังนั้น ถ้าเราอยากให้ครามมีชีวิตยืนยาวต่อไป เราก็ต้องนำมันมาอยู่กับสิ่งที่เราชอบสิ่งที่เราใช้ นี่จะเป็นการต่อชีวิตภูมิปัญญาดั้งเดิมไปยังคนรุ่นใหม่ ทำให้ครามได้กลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิตปัจจุบันจริงๆ ภูมิปัญญาดีๆ ของไทยนั้นมีอยู่มากมายเหลือเกิน แต่ว่ามันชะงักอยู่แค่การอนุรักษ์ ซึ่งจะทำให้มันตายไปทีละน้อย เพราะขาดการเชื่อมต่อมาสู่คนรุ่นใหม่ การนำสีครามมาเจอกับเสื้อยืดนี้ จึงเหมือนกับการนำโลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่มาเจอกันครับ
TIPS : การตลาดของ Walkonthewildside
เมื่อเสื้อยืดย้อมพืชธรรมชาติ Walkonthewildside ออกมาทำความรู้จักกับตลาดคนรุ่นใหม่ ก็ต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคเดิมๆ ไม่ต่างจากรุ่นคุณน้า นั่นก็คือการต้องอธิบายและตอบคำถามมากมายเกี่ยวกับตัวสินค้าและขั้นตอนการ ผลิต (ว่าทำไมสินค้าถึงมีราคาสูง) ด้วยเหตุนี้ศศิมาจึงได้ออกแบบการ์ดของ Walkonthewildside และแผ่นพับของ “แม่ฑีตา” ขึ้นใหม่ เพื่อแนะนำให้ความรู้เกี่ยว “คราม” และกระบวนการผลิต (ซึ่งยาก) เพราะในหลายๆ ครั้ง ลูกค้าอาจเห็นว่าเสื้อยืดหรือสินค้าของพวกเขาเป็นแค่ของง่ายๆ เหตุใดจึงตั้งราคาไว้สูงกว่าของที่เห็น ซึ่งผลจากการใช้สื่อเข้าช่วยนี้ ก็ทำให้ Walkonthewildside ได้รับทั้งความสนใจและการตอบรับอย่างอบอุ่นจากผู้บริโภค

ข้อมูลเพิ่มเติม:
www.walkonthewildside.etsy.com
www.facebook.com/pages/Walkonthewildside-shop/142350719137072
E-mail: walkonthewildsidemail@yahoo.com