Saturday, 23 July 2011
:ผมไปดูกรรมกับ คุณหม่อม มณฑล สายทัศน์ มาแล้ว
29051:ผมไปดูกรรมกับ คุณหม่อม มณฑล สายทัศน์ มาแล้ว
คุณต้นเขาดูฟรีครับ แต่ตอนนี้คิวยาวเป็นหางว่าวเลย
หลังๆมานี้ผมก้ติดต่อคุณต้นยากมาก เขาดูแค่วันละ 5 คน แต่คิวเป็นร้อย
ลองเข้า google แล้วพิมพ์ว่า พรหมพันกร
แล้วเข้าไปดูได้ครับ
อ. ประทีป คิวไม่เยอะมาก แต่ต้องเสียค่าดู 299 ดูทางโทรศัพท์
ไม่จำกัดเวลา คุยแบบจริงใจ ไม่เหมือนหมอดูอื่นที่จะเร่งๆดูให้จบ
อ ท่านนี้จะใช้ญาณบอกในสิ่งที่ใจเราคิด และบอกถึงทุกข์ในใจเรา
ว่าติดขัดอะไร และบอกทางแก้ให้
คนที่ไปดูหมอมาเยอะๆ แต่ยังหาคำตอบตัวเองไม่ได้
มาหา อ ท่านนี้ จะเคลียร์ กระจ่างทุกอย่างเลย
ญาณท่าน สุดยอด
อ.ประทีป คนนี้ คิดค่าดู 299 ครับ
เบอร์โทร อ ประทีป
0899264266
ส่วนคุณหม่อมก็แม่นมากเหมือนกัน รู้ลึกรู้จริง
แต่คิวยาวสุดๆ ข้ามปีเลย และราคาค่าดู 1000 บาท
เบอร์คุณหม่อม 0859532336
คุณต้นเขาดูฟรีครับ แต่ตอนนี้คิวยาวเป็นหางว่าวเลย
หลังๆมานี้ผมก้ติดต่อคุณต้นยากมาก เขาดูแค่วันละ 5 คน แต่คิวเป็นร้อย
ลองเข้า google แล้วพิมพ์ว่า พรหมพันกร
แล้วเข้าไปดูได้ครับ
อ. ประทีป คิวไม่เยอะมาก แต่ต้องเสียค่าดู 299 ดูทางโทรศัพท์
ไม่จำกัดเวลา คุยแบบจริงใจ ไม่เหมือนหมอดูอื่นที่จะเร่งๆดูให้จบ
อ ท่านนี้จะใช้ญาณบอกในสิ่งที่ใจเราคิด และบอกถึงทุกข์ในใจเรา
ว่าติดขัดอะไร และบอกทางแก้ให้
คนที่ไปดูหมอมาเยอะๆ แต่ยังหาคำตอบตัวเองไม่ได้
มาหา อ ท่านนี้ จะเคลียร์ กระจ่างทุกอย่างเลย
ญาณท่าน สุดยอด
อ.ประทีป คนนี้ คิดค่าดู 299 ครับ
เบอร์โทร อ ประทีป
0899264266
ส่วนคุณหม่อมก็แม่นมากเหมือนกัน รู้ลึกรู้จริง
แต่คิวยาวสุดๆ ข้ามปีเลย และราคาค่าดู 1000 บาท
เบอร์คุณหม่อม 0859532336
Friday, 22 July 2011
Thursday, 21 July 2011
Wednesday, 20 July 2011
Monday, 18 July 2011
จดหมายถึงบัณฑิตใหม่ : มติชนออนไลน์
จดหมายถึงบัณฑิตใหม่ : มติชนออนไลน์
นิ้วกลม
www.facebook.com/Roundfinger.BOOK
ถึง น้องบัณฑิตศักดิ์และน้องบัณฑิตศรีทั้งหลาย
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่สำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาสมใจนึก หลังจากที่หลังขดหลังแข็งนั่งเรียนอย่างหมั่นเพียรบ้าง หมั่นซีร็อกเล็กเชอร์เพื่อนบ้างมาเป็นเวลาตั้งสี่ปีเป็นอย่างน้อย
นี่ก็เข้าฤดูรับปริญญาของน้องๆ แล้วสินะ
น้องสาวทั้งหลายคงต้องเตรียมจัดหาช่างแต่งหน้าทำผมกันจ้าละหวั่น จ้างช่างมือดีมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เห็นว่าบางคนต้องตื่นมาแต่งหน้าตั้งแต่ตีสี่ (ทั้งที่ปกติเวลาต้องมาเรียนนี่แปดโมงเช้ายังกลิ้งไปมาอยู่บนเตียงนอน) บางคนมีการทดลองทำผมหลายทรงก่อนวันจริง
วันซ้อมหนึ่งทรง วันจริงอีกหนึ่งทรง จะได้ถ่ายรูปออกมาไม่ซ้ำอารมณ์กัน
บ้างเปลี่ยนช่างแต่งหน้าช่างทำผมกลางอากาศ เนื่องจากฝีมือที่แต่งให้ในวันซ้อมไม่เป็นที่ถูกใจ บ้างแต่งหนาไป บางไป บ้างก็ทำให้บัณฑิตผู้เพิ่งสำเร็จการศึกษาหน้าตาเหมือนคุณป้าที่เรียนจบมาแล้วหลายปี
ผู้หญิงบางคนแก่ขึ้นมากในวันรับปริญญาก็เพราะการแต่งหน้าที่ "จัด" เกินจำเป็น ทั้งที่ตอนแต่งหน้ามาเรียนด้วยฝีมือตัวเองนั้นก็ดูดีน่ารักสมวัยอยู่แล้ว
พอจัดหนักอายุและอาการก็เลยหนักตามไปด้วย
ทั้งที่ราคาช่างแต่งหน้าก็หนักเอาการอยู่
สมัยนี้พี่เดาว่าน้องๆ ผู้ชายหลายรายอาจมีการแต่งหน้าเพื่อถ่ายรูปในวันรับปริญญากับเขาเช่นกัน
คงมีทั้งแบบแต่งจัด และแต่งบางๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติ
มีทั้งแต่งเอง มีทั้งจ้างช่างมาแต่ง
ในวันรับปริญญา พวกเราราวกับเป็นดารา ผู้คนมากหน้าหลายตาวิ่งกรูกันเข้ามารุมล้อมขอถ่ายรูปทั้งรูปคู่และรูปคี่ กล้องถ่ายรูปนับสิบนับร้อยล้อมหน้าล้อมหลัง น้องๆ จะเข้าใจความรู้สึกของอั้ม-พัชราภา เข้าใจความรู้สึกของโดม-ปกรณ์ ลัม ก็ในวันนี้นี่เอง
น้องบัณฑิตศักดิ์และน้องบัณฑิตศรีเตรียมตัวเอาไว้ได้เลย น้องๆ ต้องฉีกยิ้มให้กล้องทั้งวันอย่างแน่แท้
ไม่รวมการต้องกล่าวทักทายน้องรหัส พี่รหัส ป้ารหัส ลุงรหัส ไล่ไปถึงอากงอาม่ารหัสที่จะร่วมแสดงความยินดีกับน้องอีกมากมาย
เรียนว่าเหนื่อยแล้ว แต่บางทีรับปริญญานี่เหนื่อยกว่าอีกนะ
บางคนมาถึงก็แสดงความคิดเกี่ยวกับการแต่งหน้าและทรงผมของเราในทันใด
ถ้าเป็นคำชมประเภท "วันนี้แต่งหน้าน่ารักดีนะ" อันนี้ก็รอดไป แต่ถ้าเป็นประเภทจริงใจอย่าง "โอย แกไปให้ใครแต่งหน้ามาเนี่ย แกดูซิ้มมากเลยวันนี้" แบบนี้น้องอาจจะเสียเซลฟ์ไปทั้งวัน ในใจก็อาจนึกแค้นเคืองช่างแต่งหน้าราคาแพงที่อุตส่าห์จ้างมา อีกใจก็อยากเอาใบปริญญาตบหัวเพื่อนผู้จริงใจคนนั้นสักป้าบ
ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยจึงซีเรียสกับการแต่งหน้าทำผม เพราะรู้ว่านี่เป็นโอกาสสำคัญที่ฉันต้องสวย หากไม่สวยงวดนี้อาจต้องรออีกสองปีกว่าจะได้รับปริญญาอีกทีตอนปริญญาโท (ซึ่งถ้าปริญญาโทยังพลาด แต่งหน้าไม่ดีอีก อาจต้องเรียนอีกห้าปีเพื่อแก้ตัวในวันรับปริญญาเอก ถึงตอนนั้นก็เป็นซิ้มโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแต่ง)
การแต่งหน้าให้สวยในวันรับปริญญาของสาวๆ จึงชวนให้เครียดกว่าการทำโจทย์แคลคูลัส ทำแล็บแยกสารเคมี หรือท่องประมวลกฎหมายเสียอีก
ผ่านพ้นเรื่องการแต่งหน้าทำผมตั้งแต่ตีสี่ และการถ่ายรูปกับผู้คนนับร้อยนับพัน น้องๆ บัณฑิตยังต้องเผชิญหน้ากับของขวัญอีกจำนวนมหาศาล
น้องๆ มักฉีกยิ้มและกล่าวคำขอบคุณกับผู้ที่หยิบยื่นของขวัญมาให้แทบทุกชิ้น
แต่ในใจอาจคิดว่า "กูรู้นะ มึงเพิ่งมาซื้อหน้ามหา"ลัย"
ของขวัญยอดฮิตหนีไม่พ้นช่อดอกไม้น้อยใหญ่ทั้งหลายที่ช่วยประดับประดาให้วงแขนของบัณฑิตทั้งหลายไม่ดูโล่งโจ้งจนเกินไปนัก แต่บางคนที่ได้รับช่อดอกไม้เยอะจัดก็ดูคล้ายราชาหรือราชินีเพลงลูกทุ่งมากกว่าบัณฑิตที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ถ้าได้มาลัยแขวนคอสักสามสี่พวงล่ะก็ใช่เลย
นอกจากดอกไม้แล้วก็น่าจะเป็นตุ๊กตาหมี หมา แมว ช้าง ม้า วัว ควาย ไล่ไปถึงแรด
ควายบางตัวมีคำพูดผูกติดคอมาว่า "ถึงโง่ก็เรียนจบ"
เช่นกันกับแรดบางตัวที่มีคำพูดติดมาว่า "แรดแต่เรียนจบ"
เดาว่าน่าจะถูกใจบัณฑิตทั้งหลายมิใช่น้อย
ของขวัญยอดฮิตอีกหนึ่งอย่างที่เห็นเป็นประจำในช่วงหลังคือ ป้ายเหล็กสีขาวสีแดงที่ทำเลียนแบบป้ายทะเบียนรถ เขียนว่า "จบ 2554" (ตัวเลขจะเปลี่ยนไปตามปีที่จบ) ครั้งแรกที่เห็นพี่ก็รู้สึกว่ามันสร้างสรรค์ดี แต่พอเห็นคนซื้อกันเยอะๆ ก็ได้แต่คิดว่า น้องๆ บัณฑิตทั้งหลายจะได้ป้ายเหล็กนี้ไปคนละกี่แผ่นกันนะ
คำถามว่า "ได้คนละกี่แผ่น" ไม่น่าสนใจเท่าคำถามว่า "แล้วมันจะเอาไปทำอะไรกัน"
แน่ละ เรารับปริญญาทั้งที เพื่อนก็อุตส่าห์มีน้ำใจซื้อของขวัญมาให้ เราย่อมดีใจเป็นธรรมดา แต่สำหรับพี่แล้ว พี่คิดว่าของขวัญแบบที่ใครๆ ก็ซื้อให้กันตามๆ กันแบบนี้ โดยเฉพาะพวกที่มาเดินซื้อหาเอาแถวหน้ามหาวิทยาลัยในวันที่พวกเขามาแสดงความยินดีนั้น ออกจะเป็นของขวัญที่คิดสั้นไปสักหน่อย คิดน้อยไปสักนิด
พอคิดสั้น อายุของพวกมันก็สั้นตามไปด้วย
นี่พี่พูดในฐานะของคนที่เคยรับปริญญามาก่อน (แต่ตอนนั้นพี่ไม่ได้จ้างแต่งหน้าทำผมนะ อืม...แต่ก็จ้างตากล้องไปหลายตังค์อยู่) ประสบการณ์แสดงให้พี่เห็นว่า ของขวัญทั้งตุ๊กตาและของชำร่วยทั้งหลายจะถูกนำมากองรวมกันมัดใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในห้องเก็บของใต้บันได ชิ้นไหนคนให้มีความสำคัญหน่อยก็อาจเขยิบฐานะมาอยู่บนโต๊ะทำงาน บ้างอยู่บนหิ้ง ในตู้โชว์ แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นแหละ
นอกนั้นชะตากรรมของพวกมันมักจะออกไปทางเศร้าๆ
ไม่มีใครสนใจ บ้างฝุ่นเกาะ บ้างหยากไย่ขึ้น
ไม่ค่อยมีใครเอาใจใส่หรือเก็บรักษามันอย่างจริงจัง อายุใช้งานหลักๆ ของพวกมันเหมือนจะมีเพียงแค่วันเดียว คือวันนั้น-วันรับปริญญา
มันทำหน้าที่เป็นแค่ "ของขวัญ"
เมื่อหมดหน้าที่มันจึงไม่รู้จะทำอะไรต่อ
ถ้าน้องได้รับของขวัญพวกนี้มาเยอะมาก พอมาถึงบ้านน้องอาจจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าชิ้นไหนใครให้ ตุ๊กตาตัวไหนใครให้มา แถมบางทีก็มีคนให้ของเหมือนๆ กันซ้ำกันอีกต่างหาก
จึงดูเหมือนว่างานรับปริญญาเป็นงานที่หมุนไปด้วยการใช้เงิน
ตั้งแต่ค่าชุด ค่าช่างต่างหน้า ช่างทำผม ช่างกล้อง (ซึ่งรวมไปถึงค่าอัดรูป ล้างรูป) ค่ารูปหมู่กับเพื่อนในคณะ ค่ารูปตอนที่รับปริญญา ไล่ไปถึงค่าของขวัญที่ญาติมิตรซื้อมาให้
รับปริญญากันทีก็จนกันเลยทีเดียว
พี่คิดว่าในฐานะที่เราเป็นบัณฑิตผู้ร่ำเรียนมาตั้งสี่ปี ห้าปี หกปี เราน่าจะลองนั่งลงคิดสักนิดเหมือนกันนะว่า เราสามารถมีบรรยากาศในงานรับปริญญาที่สร้างสรรค์หรือสมเหตุสมผลมากกว่านี้ได้ไหม
ไม่ต้องแต่งหน้ากันโอเวอร์ขนาดนั้น ไม่ต้องถึงขนาดหิ้วไฟ ยกรีเฟล็กซ์กันราวกับจะถ่ายแฟชั่น แทนที่จะทำแบบนั้นถ้าเราทำให้งานรับปริญญาเป็นงานแสดงความยินดีของคนใกล้ชิด เรียกน้องรหัสมาช่วยถ่ายรูปให้ แม้จะไม่ได้ออกมาสวยเหมือนนางแบบนายแบบ แต่ก็เป็นความทรงจำว่าไอ้เจ้านี่มีน้ำใจมาถ่ายรูปให้เรา แถมเรายังอาจจะยิ้มอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการต้องมีผู้ช่วยช่างกล้องมาถือรีเฟล็กซ์ส่องหน้าให้สว่างมีเฮ้ากวงราวเจ้าแม่กวนอิม
ทำผมแต่งหน้าก็พี่ๆ น้องๆ ช่วยๆ กันทำ คุณแม่อาจจะร่วมลงมือ อีกหน่อยเวลากลับมาดูภาพก็จำได้ว่าหัวกระเซิงๆ ของเราทรงนั้นมาจากฝีมือของคุณแม่ หน้าอ่อนๆ สวยๆ เป็นฝีมือพี่สาว
แล้วของขวัญล่ะ มีของขวัญที่มีประโยชน์และอายุยืนยาวกว่าดอกไม้ ตุ๊กตา และป้ายเหล็กพวกนั้นไหม
ถ้าน้องยังคิดไม่ออก พี่แนะนำว่า น้องน่าจะบอกญาติมิตรที่มาร่วมแสดงความยินดีว่า "ขอของขวัญเป็น "หนังสือ" คนละเล่ม"
ลองคิดดูว่าถ้าน้องได้รับหนังสือจากคนที่มาร่วมแสดงความยินดีคนละเล่ม น้องจะมีหนังสืออ่านไปอีกกี่ปี
ยิ่งคนมาเยอะ ก็ยิ่งมีหนังสือเยอะ
อะไรจะเหมาะกับบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษามากไปกว่าสาระและความรู้
ที่สำคัญ หนังสือไม่บูดไม่เสีย ไม่ล้าสมัย เก็บไว้ใช้ได้อีกนาน
หากน้องมีไอเดียของขวัญอะไรเด็ดๆ อย่างอื่นอีกก็ลองบอกกับญาติมิตรทั้งหลายดู อย่างในงานศพของคุณลุง "รงค์ วงษ์สวรรค์ ท่านก็ระบุว่าขอให้ผู้มาร่วมงานถือต้นไม้มาคนละหนึ่งต้นแทนพวงหรีด
เมื่อเสร็จงาน ต้นไม้เหล่านั้นก็ถูกนำไปปลูกเพื่อสร้างอากาศดีๆ ให้แก่โลกใบนี้ต่อไป
สร้างสรรค์ดีเนอะ ว่าไหมน้องๆ
ไหนๆ เราก็ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตกับเขาทั้งที น่าจะลองใช้สมองแบบบัณฑิตๆ คิดหาวิธีจัดงานรับปริญญาแบบมีความคิด ไม่ไหลไปตามกระแสที่เป็นอยู่ (และเป็นมานานแล้ว) ดูกันสักตั้ง เพราะเวลาพี่เห็นบัณฑิตและพ่อแม่พี่น้องหอบตุ๊กตาควายตุ๊กตาแรดกลับบ้านกันเป็นคันรถแล้วรู้สึกน่าสงสารยังไงก็ไม่รู้
ลองดูนะน้องบัณฑิตศักดิ์และน้องบัณฑิตศรี รับปริญญาปีนี้ไม่ต้องใช้เงินเยอะ แต่ใช้สมองเยอะๆ น่าจะสนุกกว่า
ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ อีกครั้ง อ้อ ถ้ากำลังถามหา "ของขวัญ" จากพี่ พี่ขอมอบจดหมายฉบับนี้นี่แหละเป็นของขวัญแด่น้องๆ อย่าลืมนะว่า การเรียนจบนั้นไม่ใช่จุดสิ้นสุด มันเป็นจุดเริ่มต้นต่างหาก
คุณ Tom Brokaw เคยพูดไว้ดีเชียว แกบอกว่า "คุณจบการศึกษาแล้ว คุณมีใบปริญญาบัตรอยู่กับตัว คุณอาจคิดว่ามันเป็นตั๋วเพื่อพาไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า แต่ผมอยากให้คุณลองคิดถึงมันอีกแบบหนึ่ง ลองคิดว่าใบปริญญาที่คุณได้รับมานั้นเป็นตั๋วเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้น"
ยังมีคนอีกมาก ยังมีปัญหาอีกมากที่รอให้เรานำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปช่วยเหลือ พัฒนา ร่วมกันคิดร่วมกันทำให้สังคมและโลกใบนี้ดีกว่าที่มันเป็นอยู่
เราร่ำเรียนมาเพียงเพื่อจะเอาตัวรอดเท่านั้น หรือจะพาสังคมให้รอดไปด้วย
ตั๋วอยู่ในมือน้องแล้ว!
นิ้วกลม
www.facebook.com/Roundfinger.BOOK
ถึง น้องบัณฑิตศักดิ์และน้องบัณฑิตศรีทั้งหลาย
ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ที่สำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาสมใจนึก หลังจากที่หลังขดหลังแข็งนั่งเรียนอย่างหมั่นเพียรบ้าง หมั่นซีร็อกเล็กเชอร์เพื่อนบ้างมาเป็นเวลาตั้งสี่ปีเป็นอย่างน้อย
นี่ก็เข้าฤดูรับปริญญาของน้องๆ แล้วสินะ
น้องสาวทั้งหลายคงต้องเตรียมจัดหาช่างแต่งหน้าทำผมกันจ้าละหวั่น จ้างช่างมือดีมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เห็นว่าบางคนต้องตื่นมาแต่งหน้าตั้งแต่ตีสี่ (ทั้งที่ปกติเวลาต้องมาเรียนนี่แปดโมงเช้ายังกลิ้งไปมาอยู่บนเตียงนอน) บางคนมีการทดลองทำผมหลายทรงก่อนวันจริง
วันซ้อมหนึ่งทรง วันจริงอีกหนึ่งทรง จะได้ถ่ายรูปออกมาไม่ซ้ำอารมณ์กัน
บ้างเปลี่ยนช่างแต่งหน้าช่างทำผมกลางอากาศ เนื่องจากฝีมือที่แต่งให้ในวันซ้อมไม่เป็นที่ถูกใจ บ้างแต่งหนาไป บางไป บ้างก็ทำให้บัณฑิตผู้เพิ่งสำเร็จการศึกษาหน้าตาเหมือนคุณป้าที่เรียนจบมาแล้วหลายปี
ผู้หญิงบางคนแก่ขึ้นมากในวันรับปริญญาก็เพราะการแต่งหน้าที่ "จัด" เกินจำเป็น ทั้งที่ตอนแต่งหน้ามาเรียนด้วยฝีมือตัวเองนั้นก็ดูดีน่ารักสมวัยอยู่แล้ว
พอจัดหนักอายุและอาการก็เลยหนักตามไปด้วย
ทั้งที่ราคาช่างแต่งหน้าก็หนักเอาการอยู่
สมัยนี้พี่เดาว่าน้องๆ ผู้ชายหลายรายอาจมีการแต่งหน้าเพื่อถ่ายรูปในวันรับปริญญากับเขาเช่นกัน
คงมีทั้งแบบแต่งจัด และแต่งบางๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติ
มีทั้งแต่งเอง มีทั้งจ้างช่างมาแต่ง
ในวันรับปริญญา พวกเราราวกับเป็นดารา ผู้คนมากหน้าหลายตาวิ่งกรูกันเข้ามารุมล้อมขอถ่ายรูปทั้งรูปคู่และรูปคี่ กล้องถ่ายรูปนับสิบนับร้อยล้อมหน้าล้อมหลัง น้องๆ จะเข้าใจความรู้สึกของอั้ม-พัชราภา เข้าใจความรู้สึกของโดม-ปกรณ์ ลัม ก็ในวันนี้นี่เอง
น้องบัณฑิตศักดิ์และน้องบัณฑิตศรีเตรียมตัวเอาไว้ได้เลย น้องๆ ต้องฉีกยิ้มให้กล้องทั้งวันอย่างแน่แท้
ไม่รวมการต้องกล่าวทักทายน้องรหัส พี่รหัส ป้ารหัส ลุงรหัส ไล่ไปถึงอากงอาม่ารหัสที่จะร่วมแสดงความยินดีกับน้องอีกมากมาย
เรียนว่าเหนื่อยแล้ว แต่บางทีรับปริญญานี่เหนื่อยกว่าอีกนะ
บางคนมาถึงก็แสดงความคิดเกี่ยวกับการแต่งหน้าและทรงผมของเราในทันใด
ถ้าเป็นคำชมประเภท "วันนี้แต่งหน้าน่ารักดีนะ" อันนี้ก็รอดไป แต่ถ้าเป็นประเภทจริงใจอย่าง "โอย แกไปให้ใครแต่งหน้ามาเนี่ย แกดูซิ้มมากเลยวันนี้" แบบนี้น้องอาจจะเสียเซลฟ์ไปทั้งวัน ในใจก็อาจนึกแค้นเคืองช่างแต่งหน้าราคาแพงที่อุตส่าห์จ้างมา อีกใจก็อยากเอาใบปริญญาตบหัวเพื่อนผู้จริงใจคนนั้นสักป้าบ
ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยจึงซีเรียสกับการแต่งหน้าทำผม เพราะรู้ว่านี่เป็นโอกาสสำคัญที่ฉันต้องสวย หากไม่สวยงวดนี้อาจต้องรออีกสองปีกว่าจะได้รับปริญญาอีกทีตอนปริญญาโท (ซึ่งถ้าปริญญาโทยังพลาด แต่งหน้าไม่ดีอีก อาจต้องเรียนอีกห้าปีเพื่อแก้ตัวในวันรับปริญญาเอก ถึงตอนนั้นก็เป็นซิ้มโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแต่ง)
การแต่งหน้าให้สวยในวันรับปริญญาของสาวๆ จึงชวนให้เครียดกว่าการทำโจทย์แคลคูลัส ทำแล็บแยกสารเคมี หรือท่องประมวลกฎหมายเสียอีก
ผ่านพ้นเรื่องการแต่งหน้าทำผมตั้งแต่ตีสี่ และการถ่ายรูปกับผู้คนนับร้อยนับพัน น้องๆ บัณฑิตยังต้องเผชิญหน้ากับของขวัญอีกจำนวนมหาศาล
น้องๆ มักฉีกยิ้มและกล่าวคำขอบคุณกับผู้ที่หยิบยื่นของขวัญมาให้แทบทุกชิ้น
แต่ในใจอาจคิดว่า "กูรู้นะ มึงเพิ่งมาซื้อหน้ามหา"ลัย"
ของขวัญยอดฮิตหนีไม่พ้นช่อดอกไม้น้อยใหญ่ทั้งหลายที่ช่วยประดับประดาให้วงแขนของบัณฑิตทั้งหลายไม่ดูโล่งโจ้งจนเกินไปนัก แต่บางคนที่ได้รับช่อดอกไม้เยอะจัดก็ดูคล้ายราชาหรือราชินีเพลงลูกทุ่งมากกว่าบัณฑิตที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ถ้าได้มาลัยแขวนคอสักสามสี่พวงล่ะก็ใช่เลย
นอกจากดอกไม้แล้วก็น่าจะเป็นตุ๊กตาหมี หมา แมว ช้าง ม้า วัว ควาย ไล่ไปถึงแรด
ควายบางตัวมีคำพูดผูกติดคอมาว่า "ถึงโง่ก็เรียนจบ"
เช่นกันกับแรดบางตัวที่มีคำพูดติดมาว่า "แรดแต่เรียนจบ"
เดาว่าน่าจะถูกใจบัณฑิตทั้งหลายมิใช่น้อย
ของขวัญยอดฮิตอีกหนึ่งอย่างที่เห็นเป็นประจำในช่วงหลังคือ ป้ายเหล็กสีขาวสีแดงที่ทำเลียนแบบป้ายทะเบียนรถ เขียนว่า "จบ 2554" (ตัวเลขจะเปลี่ยนไปตามปีที่จบ) ครั้งแรกที่เห็นพี่ก็รู้สึกว่ามันสร้างสรรค์ดี แต่พอเห็นคนซื้อกันเยอะๆ ก็ได้แต่คิดว่า น้องๆ บัณฑิตทั้งหลายจะได้ป้ายเหล็กนี้ไปคนละกี่แผ่นกันนะ
คำถามว่า "ได้คนละกี่แผ่น" ไม่น่าสนใจเท่าคำถามว่า "แล้วมันจะเอาไปทำอะไรกัน"
แน่ละ เรารับปริญญาทั้งที เพื่อนก็อุตส่าห์มีน้ำใจซื้อของขวัญมาให้ เราย่อมดีใจเป็นธรรมดา แต่สำหรับพี่แล้ว พี่คิดว่าของขวัญแบบที่ใครๆ ก็ซื้อให้กันตามๆ กันแบบนี้ โดยเฉพาะพวกที่มาเดินซื้อหาเอาแถวหน้ามหาวิทยาลัยในวันที่พวกเขามาแสดงความยินดีนั้น ออกจะเป็นของขวัญที่คิดสั้นไปสักหน่อย คิดน้อยไปสักนิด
พอคิดสั้น อายุของพวกมันก็สั้นตามไปด้วย
นี่พี่พูดในฐานะของคนที่เคยรับปริญญามาก่อน (แต่ตอนนั้นพี่ไม่ได้จ้างแต่งหน้าทำผมนะ อืม...แต่ก็จ้างตากล้องไปหลายตังค์อยู่) ประสบการณ์แสดงให้พี่เห็นว่า ของขวัญทั้งตุ๊กตาและของชำร่วยทั้งหลายจะถูกนำมากองรวมกันมัดใส่ถุงพลาสติกและเก็บไว้ในห้องเก็บของใต้บันได ชิ้นไหนคนให้มีความสำคัญหน่อยก็อาจเขยิบฐานะมาอยู่บนโต๊ะทำงาน บ้างอยู่บนหิ้ง ในตู้โชว์ แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้นแหละ
นอกนั้นชะตากรรมของพวกมันมักจะออกไปทางเศร้าๆ
ไม่มีใครสนใจ บ้างฝุ่นเกาะ บ้างหยากไย่ขึ้น
ไม่ค่อยมีใครเอาใจใส่หรือเก็บรักษามันอย่างจริงจัง อายุใช้งานหลักๆ ของพวกมันเหมือนจะมีเพียงแค่วันเดียว คือวันนั้น-วันรับปริญญา
มันทำหน้าที่เป็นแค่ "ของขวัญ"
เมื่อหมดหน้าที่มันจึงไม่รู้จะทำอะไรต่อ
ถ้าน้องได้รับของขวัญพวกนี้มาเยอะมาก พอมาถึงบ้านน้องอาจจะจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าชิ้นไหนใครให้ ตุ๊กตาตัวไหนใครให้มา แถมบางทีก็มีคนให้ของเหมือนๆ กันซ้ำกันอีกต่างหาก
จึงดูเหมือนว่างานรับปริญญาเป็นงานที่หมุนไปด้วยการใช้เงิน
ตั้งแต่ค่าชุด ค่าช่างต่างหน้า ช่างทำผม ช่างกล้อง (ซึ่งรวมไปถึงค่าอัดรูป ล้างรูป) ค่ารูปหมู่กับเพื่อนในคณะ ค่ารูปตอนที่รับปริญญา ไล่ไปถึงค่าของขวัญที่ญาติมิตรซื้อมาให้
รับปริญญากันทีก็จนกันเลยทีเดียว
พี่คิดว่าในฐานะที่เราเป็นบัณฑิตผู้ร่ำเรียนมาตั้งสี่ปี ห้าปี หกปี เราน่าจะลองนั่งลงคิดสักนิดเหมือนกันนะว่า เราสามารถมีบรรยากาศในงานรับปริญญาที่สร้างสรรค์หรือสมเหตุสมผลมากกว่านี้ได้ไหม
ไม่ต้องแต่งหน้ากันโอเวอร์ขนาดนั้น ไม่ต้องถึงขนาดหิ้วไฟ ยกรีเฟล็กซ์กันราวกับจะถ่ายแฟชั่น แทนที่จะทำแบบนั้นถ้าเราทำให้งานรับปริญญาเป็นงานแสดงความยินดีของคนใกล้ชิด เรียกน้องรหัสมาช่วยถ่ายรูปให้ แม้จะไม่ได้ออกมาสวยเหมือนนางแบบนายแบบ แต่ก็เป็นความทรงจำว่าไอ้เจ้านี่มีน้ำใจมาถ่ายรูปให้เรา แถมเรายังอาจจะยิ้มอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการต้องมีผู้ช่วยช่างกล้องมาถือรีเฟล็กซ์ส่องหน้าให้สว่างมีเฮ้ากวงราวเจ้าแม่กวนอิม
ทำผมแต่งหน้าก็พี่ๆ น้องๆ ช่วยๆ กันทำ คุณแม่อาจจะร่วมลงมือ อีกหน่อยเวลากลับมาดูภาพก็จำได้ว่าหัวกระเซิงๆ ของเราทรงนั้นมาจากฝีมือของคุณแม่ หน้าอ่อนๆ สวยๆ เป็นฝีมือพี่สาว
แล้วของขวัญล่ะ มีของขวัญที่มีประโยชน์และอายุยืนยาวกว่าดอกไม้ ตุ๊กตา และป้ายเหล็กพวกนั้นไหม
ถ้าน้องยังคิดไม่ออก พี่แนะนำว่า น้องน่าจะบอกญาติมิตรที่มาร่วมแสดงความยินดีว่า "ขอของขวัญเป็น "หนังสือ" คนละเล่ม"
ลองคิดดูว่าถ้าน้องได้รับหนังสือจากคนที่มาร่วมแสดงความยินดีคนละเล่ม น้องจะมีหนังสืออ่านไปอีกกี่ปี
ยิ่งคนมาเยอะ ก็ยิ่งมีหนังสือเยอะ
อะไรจะเหมาะกับบัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษามากไปกว่าสาระและความรู้
ที่สำคัญ หนังสือไม่บูดไม่เสีย ไม่ล้าสมัย เก็บไว้ใช้ได้อีกนาน
หากน้องมีไอเดียของขวัญอะไรเด็ดๆ อย่างอื่นอีกก็ลองบอกกับญาติมิตรทั้งหลายดู อย่างในงานศพของคุณลุง "รงค์ วงษ์สวรรค์ ท่านก็ระบุว่าขอให้ผู้มาร่วมงานถือต้นไม้มาคนละหนึ่งต้นแทนพวงหรีด
เมื่อเสร็จงาน ต้นไม้เหล่านั้นก็ถูกนำไปปลูกเพื่อสร้างอากาศดีๆ ให้แก่โลกใบนี้ต่อไป
สร้างสรรค์ดีเนอะ ว่าไหมน้องๆ
ไหนๆ เราก็ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตกับเขาทั้งที น่าจะลองใช้สมองแบบบัณฑิตๆ คิดหาวิธีจัดงานรับปริญญาแบบมีความคิด ไม่ไหลไปตามกระแสที่เป็นอยู่ (และเป็นมานานแล้ว) ดูกันสักตั้ง เพราะเวลาพี่เห็นบัณฑิตและพ่อแม่พี่น้องหอบตุ๊กตาควายตุ๊กตาแรดกลับบ้านกันเป็นคันรถแล้วรู้สึกน่าสงสารยังไงก็ไม่รู้
ลองดูนะน้องบัณฑิตศักดิ์และน้องบัณฑิตศรี รับปริญญาปีนี้ไม่ต้องใช้เงินเยอะ แต่ใช้สมองเยอะๆ น่าจะสนุกกว่า
ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ อีกครั้ง อ้อ ถ้ากำลังถามหา "ของขวัญ" จากพี่ พี่ขอมอบจดหมายฉบับนี้นี่แหละเป็นของขวัญแด่น้องๆ อย่าลืมนะว่า การเรียนจบนั้นไม่ใช่จุดสิ้นสุด มันเป็นจุดเริ่มต้นต่างหาก
คุณ Tom Brokaw เคยพูดไว้ดีเชียว แกบอกว่า "คุณจบการศึกษาแล้ว คุณมีใบปริญญาบัตรอยู่กับตัว คุณอาจคิดว่ามันเป็นตั๋วเพื่อพาไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า แต่ผมอยากให้คุณลองคิดถึงมันอีกแบบหนึ่ง ลองคิดว่าใบปริญญาที่คุณได้รับมานั้นเป็นตั๋วเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้น"
ยังมีคนอีกมาก ยังมีปัญหาอีกมากที่รอให้เรานำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาไปช่วยเหลือ พัฒนา ร่วมกันคิดร่วมกันทำให้สังคมและโลกใบนี้ดีกว่าที่มันเป็นอยู่
เราร่ำเรียนมาเพียงเพื่อจะเอาตัวรอดเท่านั้น หรือจะพาสังคมให้รอดไปด้วย
ตั๋วอยู่ในมือน้องแล้ว!
ฐากูร พานิชกุล ดีไซเนอร์ไทยดาวรุ่ง เจ้าของแบรนด์ 'THAKOON' ที่สตรีหมายเลข 1 สหรัฐใส่ | ไทยโพสต์
ฐากูร พานิชกุล ดีไซเนอร์ไทยดาวรุ่ง เจ้าของแบรนด์ 'THAKOON' ที่สตรีหมายเลข 1 สหรัฐใส่ | ไทยโพสต์
ฐากูร พานิชกุล ดีไซเนอร์ไทยดาวรุ่ง เจ้าของแบรนด์ 'THAKOON' ที่สตรีหมายเลข 1 สหรัฐใส่
ศิลปวัฒนธรรม
19 กรกฎาคม 2554 - 00:00
มีดีไซเนอร์อเมริกันเชื้อสายไทยคนหนึ่งที่น่าสนใจประสบความสำเร็จในการออกแบบแฟชั่น ซึ่งปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ดีไซเนอร์หนุ่มที่กล่าวถึงนี้มีชื่อว่า ฐากูร พานิชกุล เจ้าของแบรนด์ THAKOON ซึ่งปัจจุบันเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในอเมริกา มิเชล โอบามา ภริยาประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เลือกใส่เสื้อผ้าในคอลเลคชั่น THAKOON แล้วยังมีดารา เซเลบคนดังมะกันอีกมากมายชมชอบแบรนด์นี้
ล่าสุด กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เชิญนักออกแบบไทยชื่อดังจากอเมริกาผู้นี้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานวงการแฟชั่นระดับนานาชาติ พร้อมกับแนะกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้กับนักออกแบบไทยและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่น ด้วยเหตุนี้เขาจึงกลับแผ่นดินเกิดอีกครั้งหนึ่ง
และในงานแถลงข่าว THAKOON TALK ณ สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ จ.นนทบุรี ฐากูร พานิชกุล ได้มานั่งพูดคุยถึงที่มาที่ไป และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้สอบถามถึงชีวิตและการทำงานบนถนนแฟชั่นในสหรัฐ
ฐากูรเล่าให้ฟังว่า เป็นคนนครพนม เกิดและเติบโตที่ประเทศไทย จนกระทั่งอายุ 10 ปี ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา ศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยบอสตันด้านบริหารธุรกิจ จากนั้นย้ายไปนิวยอร์กเพื่อทำงานด้านแฟชั่น งานชิ้นแรกตำแหน่งบายเออร์ที่ J.Crew รับผิดชอบด้านการผลิต จากนั้นไปเป็นนักเขียนกองบรรณาธิการนิตยสาร Harper's Bazaa ทำงานอยู่ 4 ปี และเริ่มเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าที่ Parsons ไปควบคู่กัน ต่อมาในปี พ.ศ.2546 เปิดแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองในชื่อ THAKOON ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่นในนิวยอร์ก เลือกเดินทางนี้จากแรงผลักดันใจและอยากพิสูจน์ตัวเอง
"ด้วยใจรัก ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักออกแบบ เป็นแรงบันดาลใจในการทำ แรกๆ อยากทำอะไรก็ทำ เวลาผ่านมาโตขึ้นเริ่มมองด้านธุรกิจแฟชั่น และมองภาพที่กว้างขึ้น คำนึงถึงสิ่งที่คนอยากสวมใส่ ทำให้เติบโตทางด้านธุรกิจ การทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่นในนิวยอร์กไม่ง่าย ยากมาก ที่นี่คือเมืองแฟชั่นของสหรัฐ และมีนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรงเยอะมากๆ เราจึงต้องเติบโตไปพร้อมแบรนด์และเอาชนะคู่แข่งให้ได้" ฐากูร ซึ่งคว้ารางวัลดีไซเนอร์หน้าใหม่ในระดับอินเตอร์ กล่าว
ฐากูรบอกด้วยว่า ทุกครั้งที่ผลงานของตัวเอง หรือแบรนด์ THAKOON ปรากฏตามสื่อต่างๆ จะบอกให้ทุกๆ คนรู้ว่าแบรนด์นี้เป็นของดีไซเนอร์ไทย ส่วนในการออกแบบเสื้อผ้าต้องทำให้มีความเป็นสากล คงความเป็นอินเตอร์ ผลงานจึงมาจากแนวคิดที่หลากหลายมุมของโลก คนสหรัฐไม่สนใจสัญชาติหรือศาสนาอะไรทั้งนั้น แต่จะเน้นผลงานที่ดี มีคุณภาพ หากใครทำได้ก็ประสบความสำเร็จ ในการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นในตลาดต่างประเทศต้องใช้วัสดุทั่วโลก อย่างผ้าไหมของไทย ที่คนไทยภาคภูมิใจ หากต้องมาออกแบบให้เข้ากับเสื้อผ้าของคนต่างชาติต้องทำการบ้านหนัก และใช้ความคิดสร้างสรรค์สูง เพื่อไปสู่ระดับโลกให้ได้
กล่าวถึงมิเชล โอบามา ภริยาของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่เป็นหนึ่งในลูกค้าแบรนด์ THAKOON แถมยังใส่ชุดของเขาออกงานใหญ่ระดับชาติสหรัฐหลายครั้ง อย่างชุดราตรีดอกไม้สีม่วงแดงดำ หรือชุดลายดอกไม้โทนเหลืองน้ำตาล ฐากูรเล่าว่า คุณมิเชลรู้จักแบรนด์นี้ก่อนเป็นภริยาประธานาธิบดี เธอเป็นนักช็อปปิ้งตัวยง เมื่อได้เห็นชุดในร้านแห่งหนึ่งที่เมืองชิคาโกก็ชอบดีไซน์ รูปทรง และวัสดุที่ใช้ตัดเย็บ เมื่อเป็นภริยาผู้นำได้สั่งซื้อชุดมากขึ้น รวมถึงเข้ามาที่ร้านให้เป็นผู้ออกแบบชุด นอกจากมิเชล ยังมีดารานักแสดงชื่อดังอีกหลายคนซื้อผลงานในคอลเลคชั่นของตนไปสวมใส่ในชีวิตประจำวัน
กับความสำเร็จที่เขารอคอยและมาถึงแล้วนั้น เจ้าตัวบอกทั้งดีใจและภูมิใจที่สุด และก็ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจแฟชั่นให้มีความยั่งยืนและเป็นที่นิยมของลูกค้าได้ตลอดนั้น ดีไซเนอร์คนเก่งเน้นย้ำ นอกจากความรู้สึกและความต้องการของดีไซเนอร์ จะต้องตั้งใจคิดว่าผู้หญิงต้องการสวมใส่เสื้อผ้ารูปแบบใด และทำให้คนต้องการใส่ชุดของเราตลอดเวลา" เอกลักษณ์ของแบรนด์ THAKOON ผู้หญิงใส่แล้วสวย เด่น เป็นสง่า ดูเป็นสุภาพสตรี แล้วก็มีรสชาติของงานศิลปะ"
สำหรับแนวโน้มธุรกิจแฟชั่นนับจากนี้ ฐากูรมองว่า 5 ปีที่ผ่านมา แบรนด์เสื้อผ้าที่ผลิตในเชิงพาณิชย์เป็นที่นิยม โดยมีเงื่อนไขเรื่องค่าใช้จ่ายทั่วโลกและต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นตัวกำกับ แต่ตอนนี้คนเริ่มหันหลับมามองแบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นงานแฮนด์เมด ประณีตพิถีพิถัน มีความเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบรนด์ Luxury มากขึ้น
ในท้ายนี้ ฐากูรซึ่งมีชื่อเสียงในวงการแฟชั่นสหรัฐ อยากฝากถึงดีไซเนอร์รุ่นใหม่ชาวไทยทุกคนให้สร้างสรรค์ผลงานที่นวัตกรรม ซึ่งจะทำได้ต้องคิดนอกกรอบ โดยไม่ลืมศึกษาวิถีวัฒนธรรมไทยและพื้นฐานของแฟชั่นไทย ในการสร้างงานต้องมีสมาธิ ขยันทำการบ้านให้มาก พยายามสร้างสรรค์ดีไซน์เพิ่มเติม ไม่ซ้ำแบบเดิม ที่สำคัญต้องเปิดโลกทัศน์ดูการเปลี่ยนแปลงของโลก
"คิดและทำงานให้หนักเรื่องแฟชั่นเกี่ยวกับการสวมใส่ เสื้อผ้าเป็นงานศิลปะได้ แต่ก็ต้องสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันด้วย ขยันจึงจะประสบความสำเร็จ" ดีไซเนอร์ดาวรุ่งฝากไว้ตรงนี้ ทุกคนมีโอกาส จงขยัน อดทน และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อสร้างความฝันให้เป็นจริงได้
สำหรับฐากูร พานิชกุล ได้เป็นที่รู้จักของคนสหรัฐในนามดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ THAKOON ในการนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกได้เชิญฐากูรมาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย ตลอดจนอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย และเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างให้กับดีไซเนอร์ไทยคนอื่นๆ ที่จะต่อสู้พัฒนาการทำธุรกิจไปสู่ระดับสากลได้ผ่านโครงการเชิญนักออกแบบชื่อดังจากอเมริกามาไทย ซึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วได้ติดต่อก้อย สุวรรณเกตุ ซึ่งเป็นดีไซเนอร์ไทยอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในนิวยอร์กมาสร้างแรงบันดาลใจ เป็นเรื่องน่ายินดีของบรรดาดีไซเนอร์ทั้งหลายในบ้านเราที่มีโอกาสได้ร่วมโครงการนี้.
ฐากูร พานิชกุล ดีไซเนอร์ไทยดาวรุ่ง เจ้าของแบรนด์ 'THAKOON' ที่สตรีหมายเลข 1 สหรัฐใส่
ศิลปวัฒนธรรม
19 กรกฎาคม 2554 - 00:00
มีดีไซเนอร์อเมริกันเชื้อสายไทยคนหนึ่งที่น่าสนใจประสบความสำเร็จในการออกแบบแฟชั่น ซึ่งปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ดีไซเนอร์หนุ่มที่กล่าวถึงนี้มีชื่อว่า ฐากูร พานิชกุล เจ้าของแบรนด์ THAKOON ซึ่งปัจจุบันเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในอเมริกา มิเชล โอบามา ภริยาประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เลือกใส่เสื้อผ้าในคอลเลคชั่น THAKOON แล้วยังมีดารา เซเลบคนดังมะกันอีกมากมายชมชอบแบรนด์นี้
ล่าสุด กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เชิญนักออกแบบไทยชื่อดังจากอเมริกาผู้นี้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงานวงการแฟชั่นระดับนานาชาติ พร้อมกับแนะกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้กับนักออกแบบไทยและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมแฟชั่น ด้วยเหตุนี้เขาจึงกลับแผ่นดินเกิดอีกครั้งหนึ่ง
และในงานแถลงข่าว THAKOON TALK ณ สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ จ.นนทบุรี ฐากูร พานิชกุล ได้มานั่งพูดคุยถึงที่มาที่ไป และเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้สอบถามถึงชีวิตและการทำงานบนถนนแฟชั่นในสหรัฐ
ฐากูรเล่าให้ฟังว่า เป็นคนนครพนม เกิดและเติบโตที่ประเทศไทย จนกระทั่งอายุ 10 ปี ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา ศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยบอสตันด้านบริหารธุรกิจ จากนั้นย้ายไปนิวยอร์กเพื่อทำงานด้านแฟชั่น งานชิ้นแรกตำแหน่งบายเออร์ที่ J.Crew รับผิดชอบด้านการผลิต จากนั้นไปเป็นนักเขียนกองบรรณาธิการนิตยสาร Harper's Bazaa ทำงานอยู่ 4 ปี และเริ่มเรียนตัดเย็บเสื้อผ้าที่ Parsons ไปควบคู่กัน ต่อมาในปี พ.ศ.2546 เปิดแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเองในชื่อ THAKOON ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่นในนิวยอร์ก เลือกเดินทางนี้จากแรงผลักดันใจและอยากพิสูจน์ตัวเอง
"ด้วยใจรัก ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักออกแบบ เป็นแรงบันดาลใจในการทำ แรกๆ อยากทำอะไรก็ทำ เวลาผ่านมาโตขึ้นเริ่มมองด้านธุรกิจแฟชั่น และมองภาพที่กว้างขึ้น คำนึงถึงสิ่งที่คนอยากสวมใส่ ทำให้เติบโตทางด้านธุรกิจ การทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่นในนิวยอร์กไม่ง่าย ยากมาก ที่นี่คือเมืองแฟชั่นของสหรัฐ และมีนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรงเยอะมากๆ เราจึงต้องเติบโตไปพร้อมแบรนด์และเอาชนะคู่แข่งให้ได้" ฐากูร ซึ่งคว้ารางวัลดีไซเนอร์หน้าใหม่ในระดับอินเตอร์ กล่าว
ฐากูรบอกด้วยว่า ทุกครั้งที่ผลงานของตัวเอง หรือแบรนด์ THAKOON ปรากฏตามสื่อต่างๆ จะบอกให้ทุกๆ คนรู้ว่าแบรนด์นี้เป็นของดีไซเนอร์ไทย ส่วนในการออกแบบเสื้อผ้าต้องทำให้มีความเป็นสากล คงความเป็นอินเตอร์ ผลงานจึงมาจากแนวคิดที่หลากหลายมุมของโลก คนสหรัฐไม่สนใจสัญชาติหรือศาสนาอะไรทั้งนั้น แต่จะเน้นผลงานที่ดี มีคุณภาพ หากใครทำได้ก็ประสบความสำเร็จ ในการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นในตลาดต่างประเทศต้องใช้วัสดุทั่วโลก อย่างผ้าไหมของไทย ที่คนไทยภาคภูมิใจ หากต้องมาออกแบบให้เข้ากับเสื้อผ้าของคนต่างชาติต้องทำการบ้านหนัก และใช้ความคิดสร้างสรรค์สูง เพื่อไปสู่ระดับโลกให้ได้
กล่าวถึงมิเชล โอบามา ภริยาของบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่เป็นหนึ่งในลูกค้าแบรนด์ THAKOON แถมยังใส่ชุดของเขาออกงานใหญ่ระดับชาติสหรัฐหลายครั้ง อย่างชุดราตรีดอกไม้สีม่วงแดงดำ หรือชุดลายดอกไม้โทนเหลืองน้ำตาล ฐากูรเล่าว่า คุณมิเชลรู้จักแบรนด์นี้ก่อนเป็นภริยาประธานาธิบดี เธอเป็นนักช็อปปิ้งตัวยง เมื่อได้เห็นชุดในร้านแห่งหนึ่งที่เมืองชิคาโกก็ชอบดีไซน์ รูปทรง และวัสดุที่ใช้ตัดเย็บ เมื่อเป็นภริยาผู้นำได้สั่งซื้อชุดมากขึ้น รวมถึงเข้ามาที่ร้านให้เป็นผู้ออกแบบชุด นอกจากมิเชล ยังมีดารานักแสดงชื่อดังอีกหลายคนซื้อผลงานในคอลเลคชั่นของตนไปสวมใส่ในชีวิตประจำวัน
กับความสำเร็จที่เขารอคอยและมาถึงแล้วนั้น เจ้าตัวบอกทั้งดีใจและภูมิใจที่สุด และก็ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี การดำเนินธุรกิจแฟชั่นให้มีความยั่งยืนและเป็นที่นิยมของลูกค้าได้ตลอดนั้น ดีไซเนอร์คนเก่งเน้นย้ำ นอกจากความรู้สึกและความต้องการของดีไซเนอร์ จะต้องตั้งใจคิดว่าผู้หญิงต้องการสวมใส่เสื้อผ้ารูปแบบใด และทำให้คนต้องการใส่ชุดของเราตลอดเวลา" เอกลักษณ์ของแบรนด์ THAKOON ผู้หญิงใส่แล้วสวย เด่น เป็นสง่า ดูเป็นสุภาพสตรี แล้วก็มีรสชาติของงานศิลปะ"
สำหรับแนวโน้มธุรกิจแฟชั่นนับจากนี้ ฐากูรมองว่า 5 ปีที่ผ่านมา แบรนด์เสื้อผ้าที่ผลิตในเชิงพาณิชย์เป็นที่นิยม โดยมีเงื่อนไขเรื่องค่าใช้จ่ายทั่วโลกและต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นตัวกำกับ แต่ตอนนี้คนเริ่มหันหลับมามองแบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นงานแฮนด์เมด ประณีตพิถีพิถัน มีความเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบรนด์ Luxury มากขึ้น
ในท้ายนี้ ฐากูรซึ่งมีชื่อเสียงในวงการแฟชั่นสหรัฐ อยากฝากถึงดีไซเนอร์รุ่นใหม่ชาวไทยทุกคนให้สร้างสรรค์ผลงานที่นวัตกรรม ซึ่งจะทำได้ต้องคิดนอกกรอบ โดยไม่ลืมศึกษาวิถีวัฒนธรรมไทยและพื้นฐานของแฟชั่นไทย ในการสร้างงานต้องมีสมาธิ ขยันทำการบ้านให้มาก พยายามสร้างสรรค์ดีไซน์เพิ่มเติม ไม่ซ้ำแบบเดิม ที่สำคัญต้องเปิดโลกทัศน์ดูการเปลี่ยนแปลงของโลก
"คิดและทำงานให้หนักเรื่องแฟชั่นเกี่ยวกับการสวมใส่ เสื้อผ้าเป็นงานศิลปะได้ แต่ก็ต้องสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันด้วย ขยันจึงจะประสบความสำเร็จ" ดีไซเนอร์ดาวรุ่งฝากไว้ตรงนี้ ทุกคนมีโอกาส จงขยัน อดทน และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อสร้างความฝันให้เป็นจริงได้
สำหรับฐากูร พานิชกุล ได้เป็นที่รู้จักของคนสหรัฐในนามดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์ THAKOON ในการนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกได้เชิญฐากูรมาเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย ตลอดจนอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย และเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นตัวอย่างให้กับดีไซเนอร์ไทยคนอื่นๆ ที่จะต่อสู้พัฒนาการทำธุรกิจไปสู่ระดับสากลได้ผ่านโครงการเชิญนักออกแบบชื่อดังจากอเมริกามาไทย ซึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วได้ติดต่อก้อย สุวรรณเกตุ ซึ่งเป็นดีไซเนอร์ไทยอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในนิวยอร์กมาสร้างแรงบันดาลใจ เป็นเรื่องน่ายินดีของบรรดาดีไซเนอร์ทั้งหลายในบ้านเราที่มีโอกาสได้ร่วมโครงการนี้.
Sunday, 17 July 2011
Saturday, 9 July 2011
Thursday, 7 July 2011
Wednesday, 6 July 2011
Tuesday, 5 July 2011
Monday, 4 July 2011
Saturday, 2 July 2011
Friday, 1 July 2011
Subscribe to:
Posts (Atom)